ช่วงอายุที่ควรรัดฟัน
โดยทั่วไปแล้ว มักทำฟันในช่วงที่มีฟันแท้ขึ้นครบ คือ อายุประมาณ 12-15 ปี อย่างไรก็ตาม การให้การรักษาทางทันตกรรมรัดฟัน นั้นมีหลายช่วงอายุ ซึ่งต้องพิจารณาตามความผิดปกติและพัฒนาการ ของกะโหลกศีรษะและใบหน้าร่วมด้วย โดยมีแนวทางพิจารณาดังนี้
- หาก มีความผิดปกติของ ความสัมพันธ์ของกระดูกขากรรไกรบน-ล่าง ก็ควรจะเริ่มการบำบัดรักษา ตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อป้องกันมิให้ปัญหา ลุกลามต่อไป ในวัยนี้ลักษณะผิดปกติที่พบเช่น ฟันหน้าล่างสบคร่อมฟันหน้าบน
- หาก มีความผิดปกติในการเรียงตัวของฟัน เฉพาะตำแหน่ง ซึ่งถ้าทิ้งไว้ จะทำให้มีผลต่อพัฒนาการ ของกระดูกขากรรไกร และฟัน ข้างเคียงและการแก้ไขความผิดปกติดังกล่าวสามารถทำได้ไม่ยุ่งยาก ก็ควรจะเริ่มการบำบัดรักษา ตั้งแต่เมื่อเริ่มพบเห็นความผิดปกติ
- หากคนไข้การกัดริมฝีปากและเล็บ การดูดนิ้ว การหายใจทางปาก ก็ควรจะเริ่มให้การบำบัดรักษาอุปนิสัยที่ผิดปกติดังกล่าว ตั้งแต่ในระยะแรกที่ตรวจพบ
การพิจารณาทำฟันในวัยต่างๆ
- วัยเ็ด็กเล็ก (ระยะฟันน้ำนม ) เป็นวัยที่ยังไม่สามารถให้ความร่วมมือได้ดี จึงยังไม่ควรรัดฟัน แต่ควรเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลง
- วัยเด็ก (ระยะชุดฟันผสม) เป็นระยะที่ฟันหน้าและฟันกรามถาวรซี่แรกขึ้นเรียบร้อยแล้ว สมควรรัดฟัน เพื่อแก้นิสัยหรือความผิดปกติที่ เกิดจากขากรรไกร โดยเครื่องมือชักนำและปรับเปลี่ยนทิศทางการเจริญเติบโตของขากรรไกร
- วัยรุ่น (ระยะฟันถาวร) เป็นระยะที่ฟถาวรทุกซี่ยกเว้นฟันกรามซี่ที่ 3 ขึ้นเรียบร้อยแล้ว เป็นระยะที่เหมาะสมในการรัดฟัน เพื่อแก้ไขตำแ่หน่งฟันผิดปกติ
- วัยผู้ใหญ่ การดัดฟันแก้ไขได้เฉพาะความผิดปกติของตำแหน่งฟัน